Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนดำเนินงาน
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
หน่วยตัวสอบภายใน
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำเดือน
แผนการจัดหาพัสดุ
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
การปฎิบัติงาน
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2565
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
กฎหมายที่ใช้ปฏิบัติราชการ
เว็บบอร์ด
พูดคุยเรื่องทั่วไป
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เว็บบอร์ดเครือข่าย
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือประชาชน
E-Service


หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์
ผลประโยชน์ทับซ้อนคืออะไร
~~ ผลประโยชน์ทับซ้อน (ConflictOf Interests)
   ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of interest : COI) เป็นประเด็นปัญหาทางการบริหารภาครัฐในปัจจุบันที่เป็นบ่อเกิดของปัญหาการทุจริตประพฤติ มิชอบในระดับที่รุนแรงขึ้น และยังสะท้อนปัญหาการขาดหลักธรรมาภิบาลและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ของหน่วยงานราชการ และองค์กรต่างๆของประเทศไทย
 สาเหตุของปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน
     ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดจากการพัฒนาการทางการเมืองไทยเปลี่ยนไป จากเดิมที่นักการเมืองและ นักธุรกิจเป็นบุคคลคนละกลุ่มกัน กล่าวคือในอดีต นักธุรกิจต้องพึ่งพิงนักการเมือง เพื่อให้นักการเมืองช่วยเหลือสนับสนุนธุรกิจของตน ซึ่งในบางครั้งสิ่งที่นักธุรกิจต้องการนั้น มิได้รับการตอบสนองจากนักการเมืองทุกครั้งเสมอไป นักธุรกิจก็ต้องจ่ายเงินจำนวนมากแก่นักการเมือง ในปัจจุบันนักธุรกิจจึงใช้วิธีการเข้ามาเล่นการเมืองเองเพื่อให้ตนเองสามารถเข้ามาเป็นผู้กำหนดนโยบายและออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ในสังคมได้ และที่สำคัญคือทำให้ข้าราชการต่างๆ ต้องปฏิบัติตามคาสั่ง
ผลประโยชน์ทับซ้อน ภาษาไทยใช้อยู่ ๓ อย่าง
๑. ความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
๒. ผลประโยชน์ทับซ้อน
๓. ผลประโยชน์ขัดกัน
การกระทำที่อยู่ในข่าย Conflict of Interests ความหมาย
รับผลประโยชน์ (Accepting Benefits)คือ การรับสินบนหรือรับของขวัญ เช่น เป็นเจ้าพนักงานสรรพากรแล้วรับเงินจากผู้มา เสียภาษี หรือเป็นเจ้าหน้าที่จัดซื้อแล้วไปรับไม้กอล์ฟจากร้านค้า เป็นต้น
ใช้อิทธิพล (Influence Peddling)เป็นการเรียกผลตอบแทนในการใช้อิทธิพลในตำแหน่งหน้าที่เพื่อส่งผล
ที่เป็นคุณแก่ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งอย่างไม่เป็นธรรม
ใช้ทรัพย์สินของนายจ้างเพื่อประโยชน์ส่วนตน (Using employer’s property for private advantage)ได้แก่ การใช้รถราชการ หรือใช้คอมพิวเตอร์ของราชการทางานส่วนตัว เป็นต้น
ใช้ข้อมูลลับของราชการ (Using confidential information)เช่น รู้ว่าราชการจะตัดถนน แล้วรีบชิงไปซื้อที่ดักหน้าไว้ก่อน
รับงานนอก (Outside employment or moonlighting)ได้แก่ การเปิดบริษัทหากินซ้อนบริษัทที่ตนเองทำงาน เช่น เป็นพนักงานขายแอบเอาสินค้าตัวเองมาขายแข่ง หรือเช่นนักบัญชีที่รับงานส่วนตัวจนไม่มีเวลาทำงานบัญชีในหน้าที่ให้ราชการ
ทำงานหลังออกจากตำแหน่ง (Post Employment) เป็นการไปทำงานให้ผู้อื่นหลังออกจากงานเดิม โดยใช้ความรู้หรืออิทธิพลที่เดิมมาชิงงาน หรือเอาประโยชน์โดยไม่ชอบธรรม เช่น เอาความรู้ในนโยบาย และแผนของธนาคารชาติไปช่วยธนาคารเอกชนหลังเกษียณ

ประเภทของผลประโยชน์ทับซ้อน
การใช้ตำแหน่งไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองโดยตรง
ใช้ตำแหน่งไปช่วยเหลือญาติสนิทมิตรสหาย
การรับผลประโยชน์โดยตรง
การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์โดยใช้ตำแหน่งหน้าที่การงาน
การนำทรัพย์สินของหน่วยงานไปใช้ส่วนตัว
การนำข้อมูลอันเป็นความลับของหน่วยงานมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
การทำงานอีกแห่งหนึ่ง ที่ขัดแย้งกับแห่งเดิม
ผลประโยชน์ทับซ้อนจากการเปลี่ยนสถานที่ทำงาน
การปิดบังความผิด
ตัวอย่างประโยชน์ทับซ้อน
หาประโยชน์ให้ตนเอง
รับประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่
ใช้อิทธิพลเรียกผลตอบแทน
ใช้ทรัพย์สินของนายจ้างเพื่อประโยชน์ของตน
ใช้ข้อมูลความลับ เพื่อแสวงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
รับงานนอก แล้วส่งผลเสียให้งานในหน้าที่
ทำงานหลังออกจากตำแหน่งและเอื้อประโยชน์ต่อบริษัท
การให้ของขวัญ ของกำนัล เพื่อหวังความก้าวหน้า
ให้ทิปพนักงานโรงแรมเพื่อหวังการบริการที่ดีกว่าลูกค้ารายอื่น
ช่วยให้ญาติมิตรทำงานในหน่วยที่ตนมีอำนาจ
ชื้อขายตำแหน่ง จ่ายผลประโยชน์ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของตน
รูปแบบของประโยชน์ทับซ้อน
การรับผลประโยชน์ต่างๆ (Accepting Benefit)
การทำธุรกิจกับตัวเอง (Self-dealing) หรือการเป็นคู่สัญญา
การทำงานหลังเกษียณ (Post-employment)
การทำงานพิเศษ (Outside employment or moonlighting)
การใช้ข้อมูลภายใน (Inside information)
การนำโครงการสาธารณะลงในเขตเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง (Pork-barreling)
การรับประโยชน์ต่างๆ
การรับของขวัญจากบริษัทต่างๆ
บริษัทสนับสนุนค่าเดินทางไปดูงานต่างประเทศ
หน่วยราชการรับเงินบริจาคจากธุรกิจที่เป็นลูกค้าของหน่วยงาน
ได้รับของแถมหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการจัดชื้อจัดจ้าง
การที่คณะกรรมการกู้เงินจากสถาบันการเงินในการกำกับดูแล
การที่คณะกรรมการฝากญาติพี่น้องหรือคนที่คุ้นเคยเข้าทำงานในรัฐวิสาหกิจที่ตนกำกับดูแลอยู่
ประโยชน์อันคำนวณเป็นเงินได้
การปลดหนี้หรือการลดหนี้ให้เปล่า
การให้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
การเข้าค้ำประกันโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม
การให้ค่านายหน้าหรือค่าธรรมเนียมการเป็นตัวแทน
การขาย การให้เช่าชื้อทรัพย์สิน เกินมูลค่าที่เป็นจริงตามที่ปรากฏเห็นในท้องตลาด
การใช้สถานที่ ยานพาหนะ หรือทรัพย์สิน โดยไม่คิดค่าเช่าหรือค่าบริการน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น
        โดยปกติทางการค้า
การให้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ หรือคิดค่าใช้บริการน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า
การให้ส่วนลดในสินค้า หรือทรัพย์สินที่จาหน่าย โดยการให้ส่วนลดมากกว่าที่ให้กับบุคคลอื่น โดยปกติ
         ทางการค้า
การให้เดินทาง หรือขนส่งบุคคล หรือสิ่งของโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าบุคคลอื่น
        โดยปกติทางการค้า
การจัดเลี้ยง การจัดมหรสพ หรือการบันเทิงอื่น ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดกับ
        บุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า
ข้าราชการประจำ
กิจกรรมที่มีความเสี่ยง
การรับผลประโยชน์หรือการเรียกร้องสิ่งตอบแทนจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ
การรับงานนอกหรือการทำธุรกิจที่เบียดบังเวลาราชการ/งานโดยรวมของหน่วยงาน
การทำงานหลังเกษียณให้กับหน่วยงานที่มีผลประโยชน์ขัดกับหน่วยงานต้นสังกัดเดิม
การนำรถราชการไปใช้ในกิจธุระส่วนตัวและในหลายกรณีมีการเบิกค่าน้ำมันด้วย
การนำบุคลากรของหน่วยงานไปใช้เพื่อการส่วนตัว
การรับงานจากภายนอกจนกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ประจำ
การใช้สิทธิในการเบิกจ่ายยาให้แก่ญาติแล้วนำยาไปใช้ที่คลีนิคส่วนตัว
การรับประโยชน์จากระบบการล็อคบัตรคิวให้แก่เจ้าหน้าที่หรือญาติเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
กลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวกับการ ตรวจสอบ ประเมินราคาและการจัดซื้อจัดจ้าง
การกำหนดมาตรฐาน (Specification) ในสินค้าที่จะจัดซื้อจัดจ้างให้บริษัทของตนหรือของพวกพ้อง
        ได้เปรียบหรือชนะในการประมูล
การให้ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างแก่พรรคพวก/ญาติ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในการประมูลหรือการ
        จ้างเหมา รวมถึงการปกปิดข้อมูล เช่น การปิดประกาศหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารล่าช้าหรือพ้น 
        กำหนดการยื่นใบเสนอราคา เป็นต้น
ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๓ (มาตรา ๑๐๓)
ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาได้ดังต่อไปนี้
(๑) จากญาติ ซึ่งให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสมตามฐานานุรูป
(๒) จากบุคคลอื่นราคาหรือมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล แต่ละโอกาสไม่เกินสามพันบาท
การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นที่มีมูลค่าเกินกว่า ๓,๐๐๐ บาท โดยมีความจำเป็นต้องรับเพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ ต้องแจ้งผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานโดยทันทีที่สามารถกระทำได้
หากมีความจำเป็นต้องรับเพราะเพื่อรักษาไมตรี...จะทำอย่างไร
แจ้งผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ วินิจฉัย
มีเหตุผล รับได้ -รับไว้
ไม่เหตุควรรับ -ส่งคืน ส่งคืนไม่ได้ มอบให้ส่วนราชการ
แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน
การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง
การมีประมวลจริยธรรมและการห้ามผลประโยชน์ทับซ้อน
การแสดงบัญชีทรัพย์และหนี้สิน
การใช้หลักโปร่งใสในการใช้อำนาจ
แนวทางการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หลักนิติธรรม
หลักคุณธรรม
หลักความโปร่งใส
หลักการมีส่วนร่วม
หลักความรับผิดชอบ
หลักความคุ้มค่า
หลักธรรมาภิบาล และหลักคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน แนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ANTI CORRUPTION)
หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร (Good Governance) หลักคุณธรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติงาน
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ธรรมาภิบาล จะมีคำว่า integrity ค่านิยมของข้าราชการ I am ready
 I = Integrity มีศักดิ์ศรี (ยึดมั่นในความถูกต้อง สุจริต เที่ยงธรรม)
A = Activeness ขยันตั้งใจทำงาน (บริการ/แก้ไขปัญหา ปชช.)
M = Morality มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
R = Relevance รู้ทันโลก ปรับตัวทันโลก ตรงกับสังคม
E = Efficiency มุ่งเน้นประสิทธิภาพ (คุณภาพ ดัชนี ประเมินผล)
A = Accountability รับผิดชอบต่อผลงาน ประชาชน
D = Democracy มีใจ/การกระทำเป็น ประชาธิปไตย (มีส่วนร่วม โปร่งใส)
Y = Yield มีผลงาน มุ่งเน้นผลงาน เพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน
 
ผลประโยชน์ทับซ้อน
โพสเมื่อ : 01 ต.ค. 2563