Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
แผนดำเนินงาน
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
หน่วยตัวสอบภายใน
ข่าวสารตำบล
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำเดือน
แผนการจัดหาพัสดุ
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
การปฎิบัติงาน
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2565
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
กฎหมายที่ใช้ปฏิบัติราชการ
เว็บบอร์ด
พูดคุยเรื่องทั่วไป
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
เว็บบอร์ดเครือข่าย
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือประชาชน
E-Service


หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง คณะกรรมการตรวจการจ้างจะตรวจงานผู้ที่รับจ้างปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นไปตาม รูปแบบรายการละเอียดที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานดังนี้ 1. ตรวจสอบการปฏิบัติงานตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมที่ ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาทุกสัปดาห์ รับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงานรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป 2. ออกตรวจงาน - ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการช่าง และเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา 3. ตรวจผลงาน โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบงานภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงานและให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด 4. ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงาน เมื่อตรวจแล้วเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามแบบรูปรายการ ละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแล้ว ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น ให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวดแล้วแต่กรณี โดยลงชื่อไว้ เป็นหลักฐานอย่างน้อย 2 ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง 5. รายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบ รูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาให้ดำเนินการดังนี้ - รายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หรือ - เพื่อสั่งการ แล้วแต่กรณี การไม่ยอมรับงาน ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงานโดยทำความเห็นแย้ง ไว้ ให้ดำเนินการดังนี้ 1. เสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ 2. ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้ ให้ปฏิบัติดังนี้ - ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น - ให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวดแล้วแต่กรณี โดย ลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 2 ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง - รายงานให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ จากบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการ- ตรวจการจ้างดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า “การเป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และคณะกรรมการตรวจการจ้างไม่ใช่เรื่องง่าย และก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเป็น” แต่เป็น บทบาทที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งต่อการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างในแต่ละครั้ง ซึ่งจะต้อง กระทำโดยความรอบคอบ ระมัดระวัง ถูกต้อง และไม่ให้เกิดผลเสียต่อหน่วยงานได้ นางสาวธันยธรณ์ สุทธิพงศ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เอกสารอ้างอิง 1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2. คู่มือการปฏิบัติงานพัสดุ “บทบาทและหน้าที่คณะกรรมการ” โดย วราภรณ์ เตชะวัฒนเศรษฐ์ กองคลัง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2539 ข้อมูลจาก : www.saohaihospital.com
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง
โพสเมื่อ : 01 ต.ค. 2563